“แมวขนแตก” เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับภาวะนี้ของน้องแมวมาก่อน หรือในบางคนอาจจะเคยรู้จักแล้วแต่ก็ไม่ได้คิดว่ามีอันตรายอะไรเพราะเป็นเพียงแค่ปัญหาเรื่องขนเท่านั้น ซึ่งต้องบอกก่อนว่าความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะการที่น้องแมวมีขนแตก สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การดูแลขนไม่ดี , อายุน้องที่น้อยเกินไป , การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ, ความเครียด, สภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ และรวมไปถึงโรคร้ายแรงอื่น ๆ ในน้องแมวที่เหล่าทาสอาจไม่เคยสังเกตมาก่อนด้วย ซึ่งในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าอาการขนแตกนี้คืออะไร และเราสามารถดูแลน้องแมวได้อย่างไรบ้าง
แมวขนแตก เกิดจากอะไรกันแน่ เหล่าทาสต้องรู้ไว้จะได้แก้ไขถูกจุด!
“ขนแตก” หนึ่งในปัญหาที่คนเลี้ยงแมวมักมีโอกาสได้พบเห็นกันบ่อย ๆ โดยเฉพาะในแมวพันธุ์ที่มีขนยาวและหนา ซึ่งจะมีอาการที่เด่นชัดคือ ขนมีลักษณะจับตัวกันเป็นก้อนเป็นแพ ดูไม่นิ่มเนียนสลวยสวยงาม ซึ่งก็เป็นข้อสงสัยของทาสหลาย ๆ คนว่าอาการนี้คืออะไรและเกิดมาจากอะไรกันแน่ เพราะบ้างก็ว่าเป็นเพราะน้องแมวป่วย แต่บ้างก็ว่าเป็นเพราะอ้วน ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจภาวะนี้ของน้องแมวมากขึ้น Petology จึงรวบรวมข้อมูลมาฝาก
แมวมีภาวะขนแตกเพราะสาเหตุทั่วไป มาจากอะไรได้บ้าง ?
มาเริ่มกับสาเหตุทั่วไปที่สามารถทำให้น้องแมวมีภาวะขนแตกได้กันก่อน ซึ่งประกอบด้วย…
1. การดูแลขนที่ไม่ดีพอ
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้แมวขนแตกก็คือ การดูแลรักษาขนไม่ดีพอ ถึงแม้ว่าธรรมชาติของเจ้าเหมียวมักจะดูแลขนตัวเองเป็นปกติอยู่แล้ว แต่นั่นก็อาจไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในแมวที่สูงอายุหรือมีปัญหาสุขภาพ จึงควรได้รับการดูแลขนจากเจ้าของเพิ่มเติม
2. อายุ
กว่าเจ้าเหมียวจะสามารถเรียนรู้วิธีการดูแลขนตัวเองตัวเองได้ดี อาจต้องใช้เวลาสักระยะหรือประมาณ 2-3 เดือน ทำให้ลูกแมวที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนมีโอกาสที่จะขนแตกได้ แม้ว่าจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงดีก็ตาม
3. ความอ้วน
แมวที่อ้วนนั้นนอกจากจะมีโอกาสเกิดรังแคได้มากกว่าปกติแล้ว ก็ยังพบปัญหาขนแตกได้บ่อยเช่นกัน เนื่องจากความอ้วนที่มากเกินไปอาจทำให้น้องไม่สามารถดูแลขนของตัวเองได้สะดวกนัก
4. ไม่ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม
อีกหนึ่งสาเหตุของแมวขนแตกที่พบได้บ่อยก็คือภาวะทางโภชนาการที่ไม่ค่อยดี เนื่องจากร่างกายของแมวต้องการอาหารที่มีแร่ธาตุ วิตามิน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันอย่างสมดุล ซึ่งถ้าหากเจ้าเหมียวได้กินอาหารไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพขนได้
5. ความเครียด
แมวที่เครียดอาจเต็มไปด้วยความรู้สึกกลัวหรือไม่สบายใจ ทำให้น้องอาจหมดเวลาไปกับการทำสิ่งอื่นจนไม่มีเวลาดูแลขน เช่น ส่งเสียงเรียกร้องความสนใจ เดินตามเจ้าของ หรือหลบซ่อนตัว เป็นต้น
6. ปัญหาจากสภาพแวดล้อม
ปัญหาอื่น ๆ ภายในบ้านก็อาจส่งผลต่อสภาพขนน้องแมวได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ อย่างความชื้นที่มากเกินไปหรืออากาศที่หนาวเย็น ซึ่งอาจส่งผลต่อขนของแมวให้สูญเสียความเงางามและเหนียวเหนอะหนะ รวมทั้งปัญหาการอาบน้ำบ่อยเกินไป โดยควรอาบน้ำให้แมวไม่เกิน 1 ครั้งในทุก ๆ 4-5 สัปดาห์ และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เพราะแชมพูหรือสบู่บางชนิดอาจส่งผลเสียต่อขนแมวได้
แมวมีภาวะขนแตกเพราะป่วย จะป่วยเป็นโรคอะไรได้บ้าง?
มาถึงอีกหนึ่งสาเหตุกับการที่น้องแมวมีภาวะขนแตกเพราะป่วย เนื่องจากแมวที่ป่วยจะไม่สามารถดูแลขนตัวเองได้ทั่วถึงเหมือนปกติ จนเกิดเป็นปัญหาแมวขนแตก และเมื่อใดที่พบเห็นแมวขนแตก นั่นก็เป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกว่ามีสุขภาพของน้องแมวมีความผิดปกติบางอย่าง โดยโรคทั่วไปที่อาจทำให้แมวขนแตกได้ มีดังนี้
1.โรคเกี่ยวกับฟันและปาก
ซึ่งจะทำให้แมวกำจัดขนและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วได้น้อยลง และเกิดสิ่งสกปรกสะสมตามมา
2.ความไม่สมดุลของฮอร์โมน
เพราะฮอร์โมนมีผลไม่น้อยกับสภาพขนของแมว แมวสูงอายุและไม่เคยทำหมันจะมีความเสี่ยงสูงกว่าแมวทั่วไป
3.โรคที่ส่งผลให้ผิวหนังผลิตน้ำมันมากขึ้น
ปกติผิวหนังจะมีการผลิตน้ำมันออกมาในระดับที่เหมาะสม แต่ถ้าหากมากเกินไปก็จะทำให้ขนจับตัวเป็นก้อนได้
4.การติดเชื้อที่ผิวหนัง
อาจทำให้ขนหลุดหรือขนร่วงมากขึ้น และส่งผลให้ขนแตกหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
5.เชื้อปรสิต
เช่น เห็บ หมัด รวมไปถึงพยาธิต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดโรคผิวหนัง ขนร่วง รวมถึงขนแตกตามมา
6.โรคอื่น ๆ
ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคกระเพาะอาหารและลำไส้ ท้องเสีย และขาดน้ำ ก็อาจส่งผลให้ขนแตกได้เหมือนกัน
ซึ่งโรคต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการวินิจฉัยเท่านั้น หากทาสต้องการตรวจให้ละเอียด ควรรีบพาเจ้านายเข้าพบสัตวแพทย์เพื่อที่จะทราบถึงสาเหตุที่ตรงจุด
2 วิธีดูแลขนให้เจ้านาย ไม่ว่าจะขนแตกเพราะอะไร เทคนิคนี้เอาอยู่!!
แน่นอนว่าการดูแลขนเจ้านายให้สะอาดสะอ้านและปลอดภัยจากภาวะขนแตกได้นั้นก็คงหนีไม่พ้น 2 เทคนิคนี้ คือ…
1. หวีขน
การหวีหรือแปรงขนถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการดูแลขนแมว ที่ช่วยให้ขนแมวสวย ไม่พันกัน ไม่จับเป็นก้อน อีกทั้งยังช่วยผลัดขนที่ตายแล้วให้หลุดร่วงออกไป ในขณะเดียวกันยังเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือก ที่ช่วยให้ผิวหนังและขนมีสุขภาพดีอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหวีขนน้องแมว >> วิธีหวีขนแมว ขนสวยนุ่มไม่พันกัน วิธีแปรงขนแมวให้ถูกวิธี
2. อาบน้ำ
การอาบน้ำแมวเป็นระยะ ๆ ด้วยแชมพูสูตรอ่อนโยนสำหรับแมวโดยเฉพาะ จะสามารถช่วยรักษาขนให้นุ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี โดยอาบด้วยน้ำอุ่นและล้างแชมพูให้สะอาดหมดจด เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของสารตกค้างบนขนและผิวหนัง รวมถึงการเป่าขนให้แห้งหลังการอาบน้ำด้วยเพื่อไม่ให้เกิดภาวะขนร่วงแทรกซ้อนเข้ามาด้วย
อย่างไรก็ตาม นอกจากการดูแลขนโดยตรงแล้ว ก็ควรพิจารณาเรื่องอาหารด้วย อาหารนับเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อทั้งสุขภาพโดยรวมและขนของน้องแมว จึงควรให้น้องได้กินอาหารที่เพียงพอ และได้รับสารอาหารที่เหมาะสม ได้แก่ แร่ธาตุ วิตามิน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ในปริมาณที่เหมาะสมและสมดุลนั่นเอง ซึ่งก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะคงความแข็งแรงของเส้นขนน้องแมวไว้ได้อย่างดีเช่นกัน
“เครื่องเป่าขน” จาก Petology นวัตกรรมขจัดความชื้นบนเส้นขนหลังอาบน้ำ ป้องกันการสะสมของสารตกค้างบนขนและผิวหนัง ปลอดภัยจากภาวะขนแตกในน้องแมว
น้องแมว กับน้ำ เรียกได้ว่าเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาอย่างยาวนาน เพราะกว่าจะจับอาบน้ำได้แต่ละที ต้องงัดทุกกลเม็ดเทคนิคให้น้องแมวยอมโดนน้ำ หลังจากนั้นยังต้องมาจับเป่าขนอีก พูดเท่านี้เชื่อว่าทาสแมวหลายคนคงเข้าใจสถานการณ์แบบนี้เป็นอย่างดี แต่รู้หรือไม่ว่า การอาบน้ำเป่าขนที่ไม่มีประสิทธิภาพนั้น อาจส่งผลให้แมวเป็นโรคผิวหนังรวมไปถึงภาวะขนแตกที่เรากำลังพูดถึงได้
ดังนั้น การทำความสะอาดร่างกายของสัตว์เลี้ยงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าของ ซึ่งการอาบน้ำแมวจึงเป็นเรื่องที่ควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอ แต่การอาบน้ำหรือเป่าขนไม่ถูกวิธีสามารถก่อให้เกิดโรคเชื้อราในแมวได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรมีเครื่องเป่าขนสัตว์ที่มีประสิทธิภาพมากพอทั้งในส่วนของการเป่าขนให้แห้งและกำจัดแบคทีเรียให้หมดไปเพื่อป้องกันการเกิดโรคผิวหนังและขนของน้อง ๆ ให้ดีมากขึ้น
ติดตามรายละเอียดเครื่องเป่าขน จาก Petology เพิ่มเติมที่…
PEPE DR-300 PRO เครื่องเป่าขนสัตว์เลี้ยง
PEPE DR-100 PRO เครื่องเป่าขนสัตว์เลี้ยง
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่เจ้าของไม่ควรลืมคือต้องเลือก เป่าขนด้วยเครื่องเป่าลมที่มีกำลังสูง แต่มีเสียงที่เบา จึงทำให้น้องแมวไม่ตกใจง่าย พร้อมกันนี้ยังสามารถเป่าขนได้แห้งทั้งขนชั้นนอก และขนชั้นในสำหรับน้องแมวที่มีขนหนาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด