แมวเจ็บปาก ร้ายแรงกว่าที่คิด เหล่าทาสต้องรู้สาเหตุก่อนสาย

แมวเจ็บปาก นั้นถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตลอดและอาจเป็นปัญหาที่เหล่าทาสหลาย ๆ บ้านกำลังพบเจออยู่ ซึ่งต้องบอกว่าแม้อาการเจ็บปากของน้องแมวนั้นจะดูเป็นปัญหาเล็ก ๆ ที่บางคนอาจคิดว่าสามารถหายได้เอง แต่แท้จริงแล้วก็มีโรคน่ากลัวอย่าง “โรคช่องปากอักเสบในแมว” ที่หากปล่อยไปเรื่อย ๆ ก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายของเจ้านายเป็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหานี้ เหล่าทาสควรเตรียมตัวอย่างไร หรือหากเกิดปัญหาขึ้นแล้วควรดูแลเจ้านายอย่างไรบ้าง มาดูกัน!!

แมวเจ็บปาก เกิดจากอะไร รักษายังไง ควรดูแลเจ้านายยังไง

แมวมีนิสัยอิสระ และรักสันโดษ ยิ่งบางตัวไม่ค่อยชอบคลุกคลีอยู่กับคนทำให้ในบางครั้งการสังเกตว่าแมวป่วยจึงเป็นเรื่องยาก ประกอบกับแมวที่ป่วยมักไม่ค่อยแสดงอาการให้เราเห็นชัดเจน เจ้าของจึงมักเริ่มเห็นอาการเมื่อแมวป่วยไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งนั่นหมายถึงแมวต้องมีการดำเนินการของโรคมากขึ้นจนทำให้อาการป่วยเด่นชัดขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ตามอาการป่วยปัจจุบันที่เจ้าของมักพาแมวมาพบสัตวแพทย์ด้วยอาการเริ่มแรก คือ ซึม ไม่กินอาหาร

อาการไม่กินอาหารนี้ มีสาเหตุได้หลายอย่าง ตั้งแต่การเกิดการอักเสบของเหงือกและช่องปากจนไม่สามารถกินอาหารได้ไปจนถึงการเกิดความผิดปกติในการทำงานระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งแนวทางในการวินิจฉัยและรักษาแตกต่างกันไป

“ช่องปากอักเสบในแมว” สาเหตุหนึ่งของการกินอาหารลดลง

โรคช่องปากอักเสบในแมวเป็นโรคยอดฮิตติดอันดับของแมวอีกชนิดนึงก็ว่าได้ เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก การอักเสบจากคราบหินปูน หรือ การติดเชื้อไวรัส ซึ่งโรคไวรัสที่พบว่าสัมพันธ์กับปัญหาช่องปากอักเสบในแมว ได้แก่ ไวรัสลิวคิเมีย (FeLV), ไวรัสเอดส์แมว (FIV) และ ไวรัสหวัดแมวแคลิซิ (FCV) โดยแมวมักแสดงอาการเจ็บปาก เบื่ออาหาร น้ำลายไหล และมีกลิ่นปาก บางครั้งจะไม่ชอบให้สัมผัสบริเวณใบหน้า เป็นต้น มักพบได้บ่อยในแมวอายุมากกว่า 2 ปี ขึ้นไป แต่ก็สามารถพบได้ในแมว เช่นกัน

ช่องปากอักเสบในแมว อาการ ….

สำหรับอาการที่แมวเกิดการอักเสบภายในช่องปากที่ทาสสามารถสังเกตได้จะประกอบด้วยหลาย ๆ อาการด้วยกัน เช่น

  • แมวจะเริ่มมีกลิ่นปาก
  • น้ำลายไหล
  • เกาหน้า
  • ทานอาหารได้น้อยลงเพราะเจ็บปาก
  • ชอบดมอาหารแต่ไม่ยอมทานอาหาร
  • ไม่ชอบทานอาหารที่แข็งหรืออาหารเม็ด
  • น้ำหนักตัวลด
  • ไม่ชอบให้จับบริเวณใบหน้า
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโต
  • บริเวณริมฝีปากและมุมปากเริ่มมีแผล

เป็นต้น

อย่างไรก็ดี หากน้องแมวเริ่มมีสัญญาณเตือนเหล่านี้ ทาสควรรีบพามาพบสัตวแพทย์เพราะหากปล่อยไว้นาน ๆ ก็จะยิ่งส่งผลเสียต่อน้องแมวมากขึ้น ซึ่งนอกจากสุขภาพของช่องปากแล้วก็ยังส่งผลถึงความสามารถในการกินอาหารของแนวที่ลดลจนเกิดผลกระทบใหญ่ขึ้นต่อร่างกายตามมางเช่นเดียวกัน

แนวทางการรักษาโรคช่องปากอักเสบในแมว

ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการทำความสะอาดช่องปาก โดยแนะนำให้ทำการขูดหินปูนร่วมกับการถอนฟันซี่ที่มีปัญหา ในบางรายที่มีการอักเสบค่อนข้างมากจะแนะนำให้เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อส่งตรวจเพื่อแยกโรคช่องปากอักเสบออกจากการเกิดเนื้องอก และสามารถนำผลที่ได้ไปใช้ในการประเมินการรักษาต่อไป แมวส่วนใหญ่ที่มีการอักเสบไม่รุนแรงการทำความสะอาดช่องปากด้วยการขูดหินปูน และดูแลช่องปาก ด้วยการล้างปากร่วมกับการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ก็สามารถลดการอักเสบลงได้ แต่ในบางรายที่มีการอักเสบรุนแรง อาจจำเป็นต้องใช้การรักษาทางยาร่วมด้วย หลังจากที่ได้รับการขูดหินปูนร่วมกับการถอนฟันซี่ที่มีปัญหา ยาที่มักใช้ ได้แก่ การให้ยาฆ่าเชื้อ ร่วมกับยาลดอักเสบ และการให้ยากระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันก็สามารถเสริมการรักษาโรคช่องปากอักเสบในแมว ให้หายเร็วขึ้นได้ ทั้งนี้ในปัจจุบัน พบว่าการนำเลเซอร์ มาใช้ร่วมกับการรักษาทางยาสามารถลดการอักเสบได้และทำให้แผลหายดีเร็วขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้ โดยปกติแล้วแมวจะสามารถกินอาหารได้โดยอาศัยการบดเคี้ยวของเหงือกและเพดานปาก เนื่องจากแมวมีเพดานและเหงือกที่แข็งแรงมาก สามารถบดเคี้ยวอาหารแข็งได้เป็นอย่างดี ดังนั้น หลังการดูแล ทาสควรให้แมวกินอาหารเม็ด เพราะการบดเคี้ยวอาหารแข็งจะช่วยลดปัญหาคราบอาหารและแบคทีเรียสะสมตามร่องเหงือกและฟัน ทั้งยังลดปัญหาการเกิดซ้ำของช่องปากอักเสบได้นั่นเอง

ท้ายที่สุด สิ่งสำคัญคือการที่เหล่าทาสต้องรู้เท่าทันว่าแมวของเรากำลังเผชิญปัญหาช่องปากอยู่ ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับหลาย ๆ คนที่อาจจะต้องมานั่งสังเกตน้องแมวในระหว่างวันเนื่องจากอาจจะไม่ค่อยมีเวลาในการดูแลน้องแมวมากนัก ดังนั้น เหล่าทาสจึงควรมีตัวช่วยที่สามารถแจ้งเตือนเหล่าทาสได้อยู่ตลอดเวลาว่าน้องแมวหรือน้องแมวตัวไหน (ในกรณีที่บ้านนั้น ๆ มีน้องแมวมากกว่า 1 ตัว) กำลังเจ็บปากเพื่อให้ทาสได้รู้ตั้งแต่เนิ่น ๆ วันนี้ Petology มีไอเทมดังกล่าวมาฝาก

Catlink One เครื่องให้อาหารอัตโนมัติช่วยบันทึกการกินอาหารของน้องแมวทุกตัวในบ้าน หมดปัญหาน้องแมวมีปัญหาช่องปากโดยที่เหล่าทาสไม่รู้ตัว

Catlink One เครื่องให้อาหารอัตโนมัติที่สามารถบันทึกสถิติการกินอาหารสำหรับน้องแมวทุกขนาดและน้องหมาขนาดเล็กที่มีนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ช่วยให้คุณสามารถเฝ้าดูพฤติกรรมการอาหารของแมวแสนรักของคุณแต่ละตัวได้อย่างแม่นยำ  แจ้งเตือนแบบ Real Time ที่จะทำให้คุณรู้ทุกครั้งที่แมวกินอาหารและสจะทราบภาพรวมทุกครั้งว่าแมวของคุณกินอาหารน้อยลงจากปกติหรือไม่?

  • ฟังก์ชันบันทึกสถิติและประมวลผลการกินอาหารของน้องแมวน้องหมาแต่ละตัวย้อนหลัง 1 ปี ด้วยระบบ RFID แถม RFID tag 3 อัน ซื้อเพิ่มได้ไม่จำกัดจำนวนในการเชื่อมต่อ
  • ถาดอาหารเซรามิกยกสูง
  • ซีลสูญญากาศรอบตัวเครื่องรวมถึงช่องจ่ายอาหารเพื่อความสดใหม่พร้อมที่ใส่ถุงดูดความชื้นแจ้งเตือนเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนผ่านมือถือ
  • บอกปริมาณอาหารเหลือในถาดพร้อมระบบแจ้งเตือนผ่านมือถือเมื่ออาหารเหลือน้อยในเครื่อง
  • สั่งจ่ายอาหารได้ผ่านมือถือเวลาที่ไม่อยู่บ้าน ตั้งเวลาให้อาหารได้ตามต้องการ มีโหมดป้องกันแมวอดเมื่ออาหารหมดในถาด ถ้าแมวเดินเข้ามาจะจ่ายอาหารเพิ่มตามจำนวนที่ตั้งไว้ ไม่ใช้ระบบตรวจจับความเคลื่อนไหว (proximity sensor) แต่ใช้ระบบ RFID เพื่อความแม่นยำลดการจ่ายอาหารพร่ำเพรื่อเมื่อเดินผ่าน
  •  จ่ายอาหารได้ต่อครั้ง (โดยประมาณขึ้นอยู่กับขนาดของอาหาร) น้อยสุด 5 กรัม (เหมาะสำหรับคุมอาหาร) มากสุด 50 กรัม อ้างอิงจากขนาดอาหารแมว Proplan
  • แกะล้างทำความสะอาดง่าย
  • มีช่องเสียบสาย USB สำหรับ powerbank อยู่ใต้ฐานเพื่อเป็นพลังงานสำรองในกรณีที่ไม่อยู่บ้านหลายวันแล้วกลัวไฟดับ
  •  รับประกันสินค้า 1 ปี มีบริการหลังการขายตลอดอายุการใช้งานจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง

Catlink Fresh 2 เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ

Catlink Fresh 2 เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ

Catlink Fresh 2 เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ

บทความล่าสุด

location
บริษัท เพ็ทโทโลจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เลขที่ 47/356 อาคารไคตัค ชั้น 10 ถ. ป๊อปปูล่า ต. บ้านใหม่ อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี 11120

© 2024 Petology. All Rights Reserved.