0M6A8588
แมวไม่ยอมเข้ากระบะทราย ทำไงดี ฝึกน้องแมวขับถ่ายให้ถูกที่ เริ่มยังไง?

แมวไม่ยอมเข้ากระบะทราย ทำไงดี? เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่หลาย ๆ บ้านกำลังเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นทั้งลูกแมวเข้ากระบะทรายไม่เป็น หรือจะปัญหาที่ว่าอยู่ดี ๆ แมวที่บ้านที่อยู่ดี ๆ ก็ไม่ยอมเข้ากระบะ ซึ่งปัญหาที่กล่าวมา ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก แต่จริง ๆ แล้วสามารถสร้างความเดือดร้อนให้เหล่าทาสได้อย่างมากมาย ซึ่งหลัก ๆ ก็จะเป็นเรื่อง “กลิ่นไม่พึงประสงค์” ที่ทำเอาปวดหัวไปตาม ๆ กัน

แมวไม่ยอมเข้ากระบะทราย ทำยังไง ถ้าฝึกแมวเข้ากระบะทรายเองจะยากหรือเปล่า?

แมวเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถเรียนรู้การใช้กระบะทรายได้ด้วยตนเอง เพราะตามธรรมชาติของน้อง ๆ จะมองหาพื้นที่ที่สามารถกลบฝังของเสียของตัวเองได้ แต่หลายบ้านก็ประสบปัญหาน้องแมวไม่ยอมขับถ่ายในกระบะ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน

 

สาเหตุที่ทำให้น้องเหมียวไม่ใช้กระบะทราย

จากที่บอกไปว่าสาเหตุที่ทำให้บรรดาน้องเหมียวนั้นไม่ยอมเข้าห้องน้ำ มีหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น…

ขนาดของกระบะทราย

ลักษณะของกระบะทราย ความลึกความกว้าง ทรงของกระบะทราย เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ของการเลือกกระบะทราย เจ้าเหมียวบางตัวก็ชอบลักษณะของกระบะทรายที่มีลักษณะมีหลังคาปกคลุม แต่สำหรับแมวอ้วน เลือกที่จะใช้กระบะทรายที่โปร่ง กว้างมากกว่า กลุ้มน้องแมวที่สูงอายุ หรือปัญหาเรื่องของไขข้อ การะที่กระบะทรายสูงอาจจะเป็นปัญหาในการใช้กระบะทราย จึงอาจจะมีการเสริมบันไดขนาดเล็กเข้าไป เพื่อเพิ่มความสะอวกในการใช้งาน

กระบะทรายที่ท่านจัดให้นั้นสกปรก

โดยพฤติกรรมของเจ้าเหมียว เป็นสัตว์เลี้ยงที่สะอาด ซึ่งท่านจะสังเกตได้จากการชอบแต่ตัว เวลาขับถ่ายก็จะต้องเอาทรายมากลบให้มิด ไม่รู้เป็นเพราะเจ้าเหมียวจะอายหรือเปล่า แต่ที่สังเกตมีน้อยมากที่เจ้าเหมียวจะอึ หรือขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง โดสาเหตุแรก หากกระบะทรายที่ท่านจัดให้นั้นสกปรก เช่น ไม่มีการเปลี่ยนกระบะทรายเลย ดังนั้น จึงอาจทำให้กระบะทรายของน้อง ๆ สะสมสิ่งสกปรกจนน้องแมวไม่กล้าเข้านั่นเอง

สถานที่ตั้งของกระบะทราย

สถานที่ตั้งของกระบะทราย ถือเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้น้องเหมียวไม่ยอมใช้กระบะทรายที่ทำให้น้องแมวไม่ยอมใช้กระบะทราย ถ้าทำเลที่ตั้งนั้นไม่เหมาระสม ไม่ถูกโฉลก น้องแมวก็เหมือนกัน เช่น ตั้งติดชามอาหาร ชามน้ำ น้องแมวก็จะไม่ยอมใช้กระบะทรายหรือการเอากระบะทรายไปไว้ที่สูง หรือบริเวณใต้ถุนบ้าน ก็จะทำให้น้องแมวลำบากมากขึ้น

เปลี่ยนยี่ห้อทรายแมว

ชนิดของทรายก็มีหลายยี่ห้อ แต่โดยพฤติกรรมของเจ้าของก็อยากจะเลือกใช้ของที่ดีที่สุด ราคาที่เหมาะสมให้กับน้องแมว เนื่องจากปัจจุบันชนิดของทรายแมวมีทั้งรูปแบบที่มีการผสมกลิ่นหอมเข้าไปเพื่อเพิ่มความน่าใช้ จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เจ้าของแมวเปลี่ยนทรายบ่อยมากขึ้น ทำให้น้องแมวรู้สึกว่าชอบกลิ่นที่คุ้นเคยมากกว่า

ซึ่งนี่เป็นเพียงสาเหตุส่วนหนึ่งของปัญหาน้องแมวไม่เข้ากระบะทรายเท่านั้น โดยเจ้าของต้องหมั่นสังเกตในการหาสาเหตุที่แท้เพื่อที่จะได้แก้ไขได้อย่างตรงจุด

 

 

4 เทคนิค ฝึกน้องแมวเข้ากระบะ เหล่าทาสต้องทำยังไงบ้าง มาดูกัน!!

สำหรับขั้นตอนการฝึกให้บรรดาเจ้านายกลับไปใช้กระบะทรายเหมือนเก่า เหล่าทาสสามารถเริ่มต้นง่าย ๆ จาก 4 วิธี ดังนี้…

1.ทาสต้องมีความอดทน

เมื่อเห็นว่าน้องแมวยังไม่เข้าใจการใช้งานกระบะทรายและไปขับถ่ายในที่อื่น ๆ สิ่งที่สำคัญก็คืออย่าลงโทษหรือดุด่าอย่างรุนแรง แต่ให้ใช้ความอดทนเข้าว่า หากน้องขับถ่ายไปทั่วบ้าน ยกเว้นกระบะทราย ให้คอยตามทำความสะอาดและกำจัดกลิ่นเพื่อไม่ให้แมวกลับมาที่เดิม หรือหากขับถ่ายนอกกระบะทรายอยู่ที่จุดเดิมประจำก็ให้ขยับเอากระบะทรายมาวางตรงนี้ พอน้องชินก็ย้ายไปเข้าที่ที่เหมาะสม

2.การเลือกทรายแมวก็มีผล

ทรายแมว ที่จะใช้ก็ต้องเป็นทรายแมวที่ปลอดภัย ไม่มีสารพิษหรือสารเคมีร้ายแรง ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม เพราะน้องแมวอาจดมหรือเลียจนทำให้เกิดอันตรายได้

3.รักษาความสะอาดกระบะทราย

ถ้าแมวอึฉี่โดยเกาะที่ขอบกระบะหรือทำธุระข้างกระบะแทน เป็นไปได้ว่ากระบะทรายสกปรกเกินไป ให้หมั่นเก็บก้อนอึฉี่ แล้วเปลี่ยนทรายแมวใหม่อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ถ้าแมวเยอะ 2 ครั้งได้ยิ่งดี และล้างทำความสะอาดทั้งกระบะทรายอาทิตย์ละครั้ง โดยใช้เบคกิ้งโซดาหรือสบู่แบบไม่แต่งกลิ่น

4.เปลี่ยนยี่ห้อหรือชนิดทรายแมวแบบค่อยเป็นค่อยไป

ถ้าจะเปลี่ยนยี่ห้อหรือชนิดทรายแมว ต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยผสมลงในทรายเก่าทีละนิด แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นตอนเปลี่ยนทรายแมวแต่ละครั้ง แมวจะปรับตัวได้ง่ายกว่าถ้าใช้ทรายแบบไม่แต่งกลิ่น และผิวสัมผัสเดียวกับทรายชนิดเก่า

 

 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาน้องแมวไม่ยอมเข้าห้องน้ำ หากปล่อยไว้อาจนำมาซึ่งโรคร้ายต่าง ๆ ได้มากมาย อย่าลืมนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ และปรึกษาคุณหมอหากน้องยังไม่ยอมเข้าห้องน้ำกันด้วยนะครับ และที่สำคัญอย่าลืมเลือกสิ่งดี ๆ อย่างทรายแมวจาก Petology ช่วยดูแลน้อง ๆ เพื่อความสบายตัว และสบายใจของน้อง ๆ กันด้วยเพื่อให้ถูกต้องทั้งสุขอนามัยและสุขภาพของน้องแมวนั่นเอง

Lazada
Shopee
Line
Messenger
Messenger
Line
Shopee
Lazada